บทความน่ารู้ : ภาวะสายตาสั้น ความน่ากังวลที่สูงขึ้นแต่เราสามารถดูแลได้
สายตาสั้นเป็นภาวะทางสายตาที่มีภาวะนี้สูงที่สุดในบรรดาภาวะสายตาทั้งหมด ในปี 2010 ภาวะสายตาสั้นอยู่ที่ 27 % ของประชากรโลก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี 2030 ประชากรกว่าครึ่งของโลกจะมีภาวะสายตาสั้น และสายตาสั้นยิ่งมาก ยิ่งนำความเสี่ยงการเป็นโรคทางตาตามมาด้วยเสมอ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น
- ประวัติครอบครัว : หากคุณพ่อคุณแม่คนใดคนหนึ่งมีภาวะสายตาสั้น มีโอกาสมากถึง 25% ที่เด็กจะมีสายตาสั้น แต่หากคุณพ่อและคุณแม่มีสายตาสั้นทั้งคู่ มีโอกาสที่เด็กจะสายตาสั้นมากถึง 50-70%
- ช่วงอายุ : ช่วงที่อายุไม่เกิน 13 ปี เป็นช่วงที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างลูกตา ดังนั้นพฤติกรรมการใช้สายตาในช่วงอายุไม่เกิน 13 ปี จึงส่งผลต่อการพัฒนาของสายตา
- การใช้ชีวิตในที่ร่มอย่างเดียว : ปัจจุบันการใช้ชีวิตในวัยเด็กเปลี่ยนไปจากในอดีตค่อนข้างมาก เด็กบางคนสามารถใช้ชีวิตได้ทั้งวันโดยอยู่เพียงแค่ในบ้าน
- การใช้งานสายตาในระยะใกล้เป็นเวลานาน มีส่วนกระตุ้นทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น
- ค่าน้ำตาลในเลือดสูงมีผลทำให้เกิดโรคเบาหวาน(Diabetic) ซึ่งค่าน้ำตาลเหล่านี้ยังมีผลกับตัวเลนส์แก้วตาสามารถทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น
- ลักษณะทางกายภาพของกระบอกตาของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ซึ่งในบางรายที่มีกระบอกตายาวมากกว่าปกติจะส่งผลให้เกิดภาวะสายตาสั้น
- ปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อมที่เติบโต สารอาหารที่ได้รับ พฤติกรรมการใช้สายตา หากปัจจัยที่กล่าวมาไม่มีความสมดุลหรือเหมาะสมพอกับการเจริญเติบโตของเด็ก อาจส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาได้ทั้งสิ้น

วิธีการป้องกันการเพิ่มขึ้นของภาวะสายตาสั้น
- การใช้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา หรือแม้แต่การเดินเล่น การลดเวลาที่ต้องอยู่ในตัวอาคารหรือไป เปลี่ยนไปทำกิจกรรมภายนอกมากขึ้น จะช่วยให้มีการเจริญเติบโตที่สมวัยและลดความเสี่ยงในการเกิดสายตาสั้นในเด็ก
- ควบคุมเวลาการใช้งานสายตาระยะใกล้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอโทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งการอ่าน การเขียน การวาดรูประบายสี ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ล้วนกระตุ้นให้เกิดภาวะสายตาสั้นได้
- การตรวจสุขภาพ และตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงอายุ 6-13 ปี
- สังเกตลักษณะในการมองของเด็กว่ามีการ หรี่ตาเมื่อต้องมองสิ่งที่อยู่ระยะไกล หรือ ชอบมองวัตถุระยะใกล้กว่าปกติ หากมีอาการข้างต้นควรตรวจวัดสายตาโดยเร็ว
สิ่งที่ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นสายตาสั้น
- การใช้เลนส์ชะลอสายตาสั้น : เป็นเลนส์ที่มีการวิจัยและพัฒนามาอย่างยาวนานหลายทศววรรษ ซึ่งในปัจจุบันตัวเลนส์ควบคุมสายตาสั้นมีความสามารถในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้ 60-67% กล่าวคือ หากเด็กสวมใส่เลนส์ปกติทั่วไป 1 ปี สายตาสั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้ -1.00 D แต่ในเลนส์ควบคุมสายตาสั้น ภายใน 1 ปีจะมีการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาเพียง -0.25 ถึง -0.50 D หากเด็กที่มีสายตาสั้นในช่วงอายุ 6-13 ปี มีการใช้เลนส์ควบคุมสายตาสั้นอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ปริมาณค่าสายตาสั้นในท้ายที่สุดไม่มากจนทำให้เกิดข้อจำกัด เงื่อนไข และความเสี่ยงต่อโรคตาต่างๆ ในชีวิต
- การหยอดยา : เป็นการใช้ยาหยอดขยายม่านตาอ่อนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของจักษุแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น วิธีการนี้สามารถใช้เพื่อลดการเพ่งในเด็ก คอยควบคุมทั้งการใช้สายตาและการเพิ่มขึ้นของความยาวกระบอกตา
- Orthokeratology (Ortho K) : เป็นเลนส์ที่ใช้ปรับรูปร่างของกระจกตาชั่วคราวเพื่อเปลี่ยนแปลงค่าสายตาสั้นที่มีให้มีการมองเห็นใกล้เคียงกับคนที่ไม่มีค่าสายตา ซึ่งจะคงอยู่ประมาณ 8 ชั่วโมง วิธีการนี้มีผลการวิจัยสนับสนุนว่า สามารถช่วยชะลอค่าสายตาสั้นได้ ซึ่งกระบวนการในการคำนวนตัวเลนส์และค่าต่างๆของตัวเลนส์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ต้องมีการคำนวนและทดสอบอย่างละเอียด เพื่อให้ตัวเลนส์สามารถแก้ไขรูปร่างกระจกตาได้อย่างแม่นยำ
หมายเหตุ : การชะลอการเพิ่มของสายตาสั้นสามารถทำได้มากกว่า 1 วิธีในเวลาเดียวกัน เช่น ใช้การหยอดตา ควบคู่กับการใช้เลนส์ชะลอสายตาสั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะมีประสิทธิภาพมากกว่า
-------------------------------------------------
OPTICARE DR+ ราชพฤกษ์
โครงการ Village Hub ติดกับโรบินสันราชพฤกษ์ Bquik เลี้ยวเข้ามาซ้ายมือ
โลเคชั่น https://maps.app.goo.gl/7D4jqGADPA6WiYTk8
จองคิวตรวจสายตาตรวจสุขภาพตาโดยคุณหมอสายตา (Optometrist) ที่เชียวชาญโดยตรง
ติดต่อเรา 02-128-0156
เปิดบริการ ทุกวัน
ทุกวัน 11.00-20.00 น.
หรือ https://linktr.ee/opticaredr
Official Website : https://opticaredr.com
#OpticareDR #รีวิวแว่นตา #ร้านแว่นตาราชพฤกษ์ #ร้านแว่นโดยหมอสายตา #ร้านแว่นตาปากเกร็ด