การทบทวนเคสสายตา: การจัดการปัญหาภาพซ้อนในคนไข้สูงวัยด้วยเลนส์ปริซึมจาก ZEISS
การทบทวนเคสสายตา: การจัดการปัญหาภาพซ้อนในคนไข้สูงวัยด้วยเลนส์ปริซึมจาก ZEISS
เมื่อไม่นานมานี้ คุณหมอสายตาได้มีโอกาสต้อนรับคนไข้เพศชาย อายุ 68 ปี ที่เดินทางมาจากจังหวัดชัยนาทเพื่อเข้ามาตรวจสายตาที่ร้านโดยเฉพาะ เนื่องจากคนไข้รู้สึกว่าแว่นเดิมที่ใช้มานานกว่า 4-5 ปี เริ่มไม่คมชัดและเกิดปัญหาในการใช้งาน นอกจากนี้ ตัวแว่นยังมีปัญหาสารเคลือบเลนส์หลุดลอก ซึ่งทำให้คนไข้ตัดสินใจหาข้อมูลและนัดเข้ามาตรวจที่ร้านเพราะต้องการความละเอียดในการตรวจและแก้ไขค่าสายตาและปริซึมในแว่นตา
ค่าสายตาของแว่นตาเดิม
OD: +1.00 4 Base Out
OS: +1.00 4 Base Down
ประวัติคนไข้และผลการตรวจเบื้องต้น จากการสอบถามประวัติทั่วไป คนไข้รายนี้เริ่มมีอาการเห็นภาพซ้อนระยะไกลครั้งแรกเมื่อยังเป็นนักเรียน ม.6 โดยในขณะนั้นได้ไปพบจักษุแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) หลังจากการรักษาด้วยยา อาการก็หายไป และกลับมาเป็นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งทำให้ต้องเริ่มใส่แว่นปริซึมตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ คนไข้ยังมีโรคประจำตัวคือโรคเบาหวานมานานกว่า 10 ปี แต่เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ จึงยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขึ้นตา
ภาพตัวอย่างอาการโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis)
การตรวจสุขภาพตาด้วยเครื่อง Slit lamp พบว่ามีอาการต้อกระจกแบบ Cortical cataract ในตาทั้งสองข้าง
ผลการตรวจสายตา หลังจากทำการตรวจ Subjective refraction พบค่าสายตา:
OD: +1.00
OS: +1.25 -0.75x 95
การทดสอบ Phoria และ Vergence:
ระยะไกล: horizontal : 6 esophoria, vertical : ortho
การวัด BI: x/x/7, BO: x/x/6
การวัดด้วย Prism bar ที่ระยะไกล:
OD: 5 BO
หลังการตรวจสอบและทดสอบค่าปริซึมเพิ่มเติม พบว่าคนไข้ยังมีการเหลื่อมของภาพในแนวตั้งเล็กน้อย จึงทำการวัดความเหลื่อมได้ค่า 1 BD เมื่อลองใส่ปริซึมในแนวตั้งกับตาซ้าย พบว่าอาการภาพซ้อนหายไปทั้งหมด จึงได้พิจารณาและจ่ายค่าสายตาใหม่ให้คนไข้
การเลือกเลนส์ คุณหมอสายตาได้เลือกใช้เลนส์ ZEISS ที่มีการสั่งผลิตเฉพาะบุคคล ซึ่งเสริมค่าปริซึมเพื่อลดอาการภาพซ้อน และยังมีการปรับสีเลนส์เมื่อเจอแสงแดด เพื่อช่วยเพิ่มความสบายตาและปกป้องดวงตาจากแสง UV ผลลัพธ์จากการใช้เลนส์ใหม่นี้ คนไข้รู้สึกประทับใจในความคมชัดและความสว่างของภาพที่มองเห็น และจากการติดตามผลพบว่าคนไข้สามารถใช้งานแว่นได้ดีและไม่มีอาการภาพซ้อนกลับมาอีกเลย
สรุป
เคสนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการดูแลคนไข้ที่มีความซับซ้อนด้านปริซึมและภาพซ้อนในผู้สูงวัย การตรวจละเอียดและการเลือกใช้เลนส์ที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญในการช่วยให้คนไข้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทางคุณหมอสายตาหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาด้านสายตาเชิงลึก และเป็นแรงบันดาลใจให้คนไข้เห็นความสำคัญของการตรวจสายตาอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญ