ทบทวนเคสคนไข้: การเสื่อมของจอตาและต้อกระจก เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามไป
ในกรณีของคนไข้เพศชายอายุ 34 ปี ที่มีอาการตามัวในตอนกลางคืนและขับรถตอนกลางคืนกะระยะได้ยาก มีประวัติน้ำตาลในเลือดสูง และครอบครัวมีประวัติเบาหวาน อาการนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพตาที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
ตรวจสุขภาพตาส่วนหน้า : พบการขุ่นของตัวเลนส์ พิจารณาจากเลนส์ที่มีความขุ่นด้านหลังของตัวเลนส์ มีลักษณะคล้าย Posterior subcapsular Cataract
ตรวจสุขภาพตาส่วนหลัง : มีเยื่อบางๆ ลักษณะคล้ายพังผืด อยู่ห่างจากจุดรับภาพชัดเล็กน้อย เมื่อพิจารณาจากรอยโรคดูคล้าย Epiretinal Membrane
ค่าสายตาแว่นเก่า
OD : -3.25-0.50x81
OS : -2.00-0.50x106
การวัดระดับการมองเห็นแว่นเก่า (Visual Acuity : VA)
ระยะไกล
OD : 20/20
OS : 20/20-1
Subjective Refraction
OD : -3.25-0.50x90 VA : 20/20
OS : -2.25-0.50x110 VA : 20/20
เนื่องจากคนไข้มีอาการตามัวในตอนกลางคืน จากการตรวจวัดค่าสายตาไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงจากแว่นเดิมของคนไข้ ซึ่งจากการตรวจโรคตาส่วนหน้าอาการตามัวในตอนกลางคืนอาจเกิดจากเลนส์ตาที่มีความเสื่อมก่อนวัยที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงและทำเลนส์ตาเกิดการบวมน้ำ ทำให้เมื่อคนไข้ต้องการโฟกัสภาพเพื่อให้เห็นได้ชัดนั้นจะยากมากขึ้น แต่อาการจะเป็นชั่วคราวหากมีการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
Posterior Subcapsular Cataract
เป็นต้อกระจกชนิดหนึ่งที่จะเกิดความขุ่นด้านหลังของตัวเลนส์/ถุงหุ้มเลนส์ ซึ่งมีสาเหตุการเกิดที่หลากหลาย แต่พบได้ง่ายในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงจาก glucose เป็น sorbitol ซึ่งสารเหล่านี้จะถูกสะสมที่เลนส์ตาและทำให้เลนส์มีความขุ่น หรืออาจพบในกลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานยา Steroids
ภาพตัวอย่าง
Epiretinal Membrane (พังผืดจอตา)
เป็นภาวะที่เกิดการยกตัวขึ้นของจอประสาทตา ซึ่งปกติแล้วมักพบในผู้ที่อยู่ที่ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เริ่มมีการเสื่อมของตัวจอประสาทแต่ โดยส่วนมากมักเกิดจากการดึงรั้งของน้ำวุ้นลูกตา เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วตัวน้ำวุ้นตาจะมีชั้นเยื่อหุ้มบางๆระหว่างชั้นน้ำวุ้นตาและจอประสาทตา ซึ่งเมื่อคนเราอายุมากขึ้น มักจะเกิดความเสื่อมของน้ำวุ้นตาและทำการดึงเยื่อบางๆที่กั้นจอประสาทตาขึ้นมาด้วย หากเกิดการดึงขึ้นในบริเวณของจุดรับภาพชัด อาจส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงได้ แต่ในหลายๆเคส มักเกิดโดยระบุสาเหตุไม่ได้
การแนะนำคนไข้
หลังจากที่แพทย์ตรวจสายตาและสุขภาพโดยรวมแล้ว แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อหาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดต้อกระจก Posterior Subcapsular Cataract และแนะนำให้ใช้เครื่อง OCT Scan ตรวจสอบจอประสาทตา เพื่อดูว่ามีการเกิดพังผืดที่ชั้นจอประสาทตาหรือไม่ และควรตรวจตาประจำทุกปีเพื่อติดตามการพัฒนาของโรค โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุน้อย ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการลดลงของการมองเห็น และลดความเสี่ยงของโรคตาที่อาจเกิดขึ้นตามมา หากมีการเกิดโรคตาในวัยที่ไม่ควร โรคนั้นอาจพัฒนาความรุนแรงได้
Opticare DR+ เรามุ่งมั่นให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนของการตรวจสายตา เพื่อให้ทุกคนรู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นในความสามารถของเราในการแก้ไขปัญหาสายตา ทุกการตรวจดูแลโดยอาจารย์หมอผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาจากคณะทัศนมาตรมหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนี้ เรายังคำนึงถึงเลนส์ที่เหมาะสมกับค่าสายตาและวิถีการใช้งานของแต่ละบุคคล เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้แว่นตาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าที่สุด
-------------------------------------------------
OPTICARE DR+ ราชพฤกษ์
โครงการ Village Hub ติดกับโรบินสันราชพฤกษ์ Bquik เลี้ยวเข้ามาซ้ายมือ
โลเคชั่น https://maps.app.goo.gl/7D4jqGADPA6WiYTk8
จองคิวตรวจสายตาตรวจสุขภาพตาโดยคุณหมอสายตา (Optometrist) ที่เชียวชาญโดยตรง
ติดต่อเรา 02-128-0156
เปิดบริการ ทุกวัน
ทุกวัน 11.00-20.00 น.
หรือ https://linktr.ee/opticaredr
Official Website : https://opticaredr.com
#OpticareDR #บทความน่ารู้ #ร้านแว่นตาราชพฤกษ์ #ร้านแว่นโดยหมอสายตา #ร้านแว่นตาปากเกร็ด